จีนปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อเติบโตอย่างพุ่งกระฉูดในปี 2023

จีนปรับเปลี่ยนนโยบาย 10

ตลาดจีนกำลังทำท่าคึกคักเป็นกระทิงเปลี่ยวในปี 2023 โดยที่อัตราเติบโตของจีดีพีน่าจะพุ่งพรวด (ภาพประติมากรรมรูปกระทิง Bund Bull ที่ตั้งอยู่ในย่านเดอะบันด์ ของเซี่ยงไฮ้ ภาพนี้มาจากวิกิพีเดีย)

ทันโลกข่าวต่างประเทศ  ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ มีกลุ่มนักลงทุนสถาบันจำนวนมากพากันปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราเติบโตของจีนในปีนี้จากระดับราวๆ 4% ให้เป็นมากกว่า 5% อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการที่ปักกิ่งวางตัว หลี่ เฉียง ให้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ และการปรับเปลี่ยนนโยบายซึ่งกำลังดำเนินการกันอยู่อย่างคึกคักโดยเน้นไปที่การเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จีดีพีของแดนมังกรในปี 2023 นี้ เป็นไปได้ที่จะพุ่งกระฉูดในอัตรา 7-8% ทีเดียวฮ่องกง – สำนักงานบริหารการลงทุนระดับโลกจำนวนมากพากันอัปเกรดคำทำนายอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2023 ของพวกเขาให้สูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ จากระดับแถวๆ 4% เป็นเกินกว่า 5% เราเชื่อว่านี่ยังคงอนุรักษนิยมเกินไปเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่จะเกิด “อัตราเติบโตชนิดพุ่งกระฉูดระเบิดระเบ้อ” (ถ้าหากจะหยิบยืมถ้อยคำของนักลงทุนเน้นจีนซึ่งตั้งฐานอยู่ที่ฮ่องกงและมีประสบการณ์มากที่สุดคนหนึ่งมาใช้) ในระดับ 7-8% ขณะที่คลื่นโรคโควิดระลอกปัจจุบันถดถอยลงไปแล้วเหตุผลพื้นฐานที่สนับสนุนความคิดเห็นเช่นนี้ เป็นสิ่งที่เราได้เขียนและเน้นย้ำไปในหลายๆ โอกาสแล้ว นับตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าการประชุมสมัชชา 20 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นต้นมา ซึ่งก็คือ –ตรงกันข้ามกับ “การรายงานข่าว” ที่เป็นไปอย่างมีอคติและขาดความรู้ความเข้าใจของพวกสื่อมวลชนตะวันตก— สมัยที่ 3 แห่งการดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคของสี จิ้นผิง จะไม่ใช่มีคุณลักษณะโดดเด่นที่เป็นการควบคุมเศรษฐกิจให้กระชับแน่นหนายิ่งขึ้นไปอีก ตลอดจนการกำราบลงโทษความริเริ่มของภาคเอกชน โดยฝีมือของกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อ สี ที่เกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่นมั่นคง และ สี เป็นผู้คัดสรรขึ้นมาด้วยตนเอง แต่มันจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามแบบสุดๆ ต่างหากสำหรับผู้สังเกตการณ์คนไหนก็ตามทีที่จิตใจไม่คับแคบแล้ว ย่อมสามารถมองเห็นและสมควรมองเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่นาทีที่ หลี่ เฉียง (Li Qiang) เลขาธิการพรรคประจำมหานครเซี่ยงไฮ้ เดินออกมาในตำแหน่งอันดับ 2 ตามหลัง สี เท่านั้น เมื่อตอนมีการเปิดตัวคณะประจำของคณะกรรมการกรมการเมือง แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ ในตอนปิดท้ายสมัชชาพรรคคราวนี้หลี่ ผู้ซึ่งอาชีพทางการเมืองของเขาเริ่มต้นที่เมืองเวินโจว (Wenzhou) ที่เป็นฐานที่มั่นอันเข้มแข็งน่าภาคภูมิใจของบรรดาวิสาหกิจเสรีในมณฑลเจ้อเจียง คือผู้ที่เปิดตลาด “สตาร์มาร์เก็ต” (STAR market) ตลาดหุ้นแห่งใหม่เน้นบริษัทด้านเทคโนโลยี ของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Stock Exchange) และเป็นผู้ที่ช่วยเหลือ อีลอน มัสก์ ในการสร้างอัครอภิมหาโรงงานของเทสลา (Tesla Gigafactory) ขึ้นในเซี่ยงไฮ้ได้อย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ ระหว่างที่เขาครองอำนาจอยู่ในมหานครใหญ่ของจีนแห่งนั้น นี่เป็นเพียงการหยิบยก 2 ตัวอย่างความริเริ่มที่โดดเด่นสะดุดตาของ หลี่ เฉียง ผู้นี้  เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อ สี เขาทำงานให้กับ สี มาตั้งแต่อยู่ที่เจ้อเจียงแล้ว แต่ทำไม สี จะต้องหยิบเอาผู้จงรักภักดีที่มีคุณสมบัติอย่าง หลี่ มาเป็นนายกรัฐมนตรีของเขาที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจล่ะ ถ้าหากเขาต้องการเดินหน้านโยบายต่างๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างที่รายงานข่าวของฝ่ายตะวันตกพูดกัน มันช่างเป็น “บทวิเคราะห์” ที่ขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว ซึ่งมีแต่พวกที่ต้องคอยปรับตัวเพื่อประจบเอาใจวอชิงตันที่มุ่งหน้าเชื่อแต่เฉพาะความคิดเห็นของตนเองเท่านั้น จึงจะสามารถผลิตออกมาได้หลี่ เฉียง ขณะเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของมหานครเซี่ยงไฮ้ กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดการประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2020 เวลานี้เขาขึ้นเป็นผู้นำหมายเลข 2 ของจีนแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่ สี จิ้นผิง ให้ความสำคัญยิ่งแก่การสร้างอนาคตของจีนที่ชี้นำโดยเทคโนโลยีชั้นสูง

จีนปรับเปลี่ยนนโยบาย 10

นับตั้งแต่ที่ หลี่ ได้รับมอบหมายให้เข้าเทกโอเวอร์เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งจะเกิดขึ้นในการประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีนเดือนมีนาคมนี้ ทั้งกรมการเมืองที่ถือเป็นองค์กรตัดสินใจระดับบนสุด

ทันโลกข่าวต่างประเทศ   ทั้งหน่วยงานรัฐบาลทั้งหลายทั้งปวง ต่างชี้ทิศทางให้เห็นอย่างเตะตาถนัดๆ ว่ามุ่งหน้าไปสู่เศรษฐกิจซึ่งเน้นการเติบโตขยายตัวอย่างเข้มแข็ง นำโดยเทคโนโลยีระดับสูง ขับดันโดยภาคการบริโภค และได้รับความสนับสนุนทางนโยบายจากภาคการเงิน สื่อบลูมเบิร์ก (Bloomberg) อ้างความคิดเห็นของ หง เฮ่า (Hong Hao) อดีตหัวหน้าฝ่ายวิจัยของ โบคอม อินเตอร์เนชั่นแนล (Bocom International) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพวก “หมี” ในเรื่องจีน (China bear) ผู้ปากกล้า ที่ชี้ว่า มีแต่ “การปรับเปลี่ยนทางด้านนโยบายเรียกได้ว่าในทุกๆ เซกเตอร์ทีเดียว” แน่นอนทีเดียว เรื่องนี้ย่อมรวมไปถึงการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอย่างแรงๆ ประการแรกสุดและสำคัญที่สุด ด้วยการโละทิ้งนโยบาย “โควิดต้องเป็นศูนย์” ที่ใช้กันอยู่ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จุดสำคัญที่ควรต้องระลึกกันก็คือ หลี่ เป็นผู้ที่คัดค้านการใช้มาตรการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ อย่างเข้มงวดดุเดือดมากในเดือนเมษายน 2022 จนกระทั่งเร่งรัดให้ปักกิ่งต้องจัดส่ง “สตรีเหล็ก” ซุน ชูหลาน (Sun Chunlan) รองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองพรรคไปที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อรับผิดชอบทำเรื่องล็อกดาวน์นี้ให้สำเร็จ สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้น ส่งผลให้พวกผู้สังเกตการณ์ฝ่ายตะวันตกจำนวนมากรีบขีดฆ่าชื่อของ หลี่ ทิ้งไป ว่าจะไม่ได้ขึ้นเป็นสมาชิกของคณะประจำของกรมการเมืองชุดใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งกันในอีกไม่กี่เดือนถัดไปหรอก แต่แล้วปรากฏว่าในที่ประชุมสมัชชา 20 ซุนเป็นหนึ่งในผู้นำที่หลุดจากคณะกรรมการกรมการเมืองและเกษียณอายุ ส่วน หลี่ กำลังจะขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาลชุดใหม่ อย่างที่เรารายงานเอาไว้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นั่นคือ ตั้งแต่ก่อนหน้าสมัชชา 20 แล้วด้วยซ้ำไป คณะผู้นำจีนก็บรรลุการตัดสินใจที่จะโยนทิ้งนโยบายโควิดเป็นศูนย์ และต่อจากนี้ไปจะถือโรคนี้ว่าเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ไม่ใช่โรคระบาดร้ายแรงที่กระจายไปทั่ว (pandemic) อีกต่อไป

แนะนำทันโลกข่าวต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : อย่าฝันว่าสงครามยูเครนใกล้ยุติแล้ว!! ศึกชิง‘เมืองโซเลดาร์’คือบทพิสูจน์ว่ามันจะยืดเยื้อและราคาแพงลิ่ว